หมวดหมู่

โปรไฟล์

เครียดเพราะไม่เก่งและไม่ได้มีอย่างเพื่อน เป็นเพราะอะไร แก้ยังไงกัน มีคำตอบ!

อัพเดทล่าสุดเมื่อ 02/05/2021

เคยไหมเวลาเห็นเพื่อนมีความสุข ได้สิ่งของอย่างนั้น ประสบความสำเร็จอย่างนี้ แล้วเราอยากได้บ้าง เป็นเหมือนความรู้สึกว่าเราขาดหายอะไรไปหรือเปล่า ลึกๆแล้วเราอาจจะรู้สึกอิจฉาหรือกระทบไม่ถึงความมั่นใจในตัวเอง อาการเหล่านี้ไม่เชิงเรียกว่าอิจฉาซะทีเดียว แต่เป็นอาการที่เรียกว่า Fear-of-missing-out (FOMO) มากกว่า

FOMO คืออะไร

FOMO เป็นอาการที่พบได้มากขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน และโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook หรือ Instagram ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เราพบอาการ FOMO ได้มากยิ่งขึ้น โดย FOMO นั้นไม่ได้เป็นอาการที่เราคิดว่าเราจะสามารถทำได้ดีกว่าในขณะนั้นๆ แต่จะเป็นความรู้สึกที่ว่าพอเห็นคนอื่นมีแล้วเราขาดไป ทำให้เหมือนกลายเป็นคนนอกที่ไม่อยู่ในกลุ่มสังคมนั้นๆ

FOMO นั่นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมนั้นย่อมมีการเปรียบเทียบกันในสังคมอยู่ตลอดอยู่แล้ว แต่FOMOเพิ่งได้รับการวิจัยอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ.1996 โดย Dr.Dan Herman และหลังจากการมาของ Social media การศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับ FOMO ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีคนประสบปัญหาเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกวัน

แล้วเราจะจัดการกับ FOMO ได้อย่างไรหล่ะ?

วันนี้ Class-dd จะมาแนะนำวิธีการจัดการกับปัญหาที่ได้กล่าวไป ไม่ว่าคุณจะรู้สึกว่าทำไมเพื่อนได้ไอโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดแต่เรายังใช้ไอโฟน 7 อยู่ หรือ ทำไมคนนั้นได้เรียนพิเศษติวสอบแต่เราไม่ได้เรียนบ้าง เราอยากให้คุณค่อยๆตามข้อแนะนำเหล่านี้แล้วเอาตัวเองออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด

  1. เปลี่ยนมุมที่เรามอง – แทนที่เราจะมุ่งเป้าหมายหรือมองไปที่สิ่งที่เรายังไม่มี อยากให้เราลองมองไปยังสิ่งที่เรามีอยู่ อาจจะยากซักหน่อยหากเรายังต้องอยู่ในโลกโซเชี่ยลที่ทุกคนยังถ่ายรูปอัพสเตตัสตอนประสบความสำเร็จ อาจจะลองติดตามคนที่คอยแนะนำเราไปในทางที่ดี หรือลดคนที่โพสต์โอ้อวดมากเกินไปออกจากฟีดเรา เมื่อเราเห็นสิ่งเร้าต่างๆน้อยลง มีคนให้กำลังใจกันมากขึ้น อาการ FOMO ก็จะลดลงไปตามลำดับ หรืออาจจะหาช่วงเวลาไป Social detox บ้างก็ได้หากมันจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นเมื่อเรารู้สึกโดนสิ่งต่างๆในโวเชี่ยลรุมเร้ามากเกินไป
  2. ออกมาจากโลกออนไลน์บ้าง – ในปัจจุบัน คงเป็นเรื่องธรรดาที่เวลาเราไปเที่ยวไหนก็ย่อมโพสต์รูปหรือสเตตัสลงในโซเชี่ยลมีเดีย แต่ว่าการทำแบบนั้นบ่อยจนเกินไปจะกลายเป็นการพาตัวเราเองดำดิ่งไปสู่โลกออนไลน์เต็มตัว และคนที่ติดตามเราเมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้นบ่อยๆ คนเหล่านั้นจะเริ่มตัดสินเราจากสิ่งที่เราแชร์ไป ทำให้เราไม่สามารถถอนตัวจากโลกออนไลน์ได้ Class-dd ขอแนะนำให้คุณลองจดบันทึกสถานที่ท่องเที่ยว หรือทำscrapbook รวบรวมภาพถ่ายเก็บไว้ดูกับตัวเองหรือคนในครอบครัวบ้างก็พอ นั่นจะเป็นการเอาตัวเองออกมาจากโลกที่พร้อมจะตัดสินเราจากภายนอกได้ดีมากเลยทีเดียว

    ทำ Scrapbook เก็บความทรงจำ แทนที่จะโพสต์ลง Social media ทุกครั้ง
  3. ยินดีกับสิ่งที่ตัวเองมี – เราอาจจะเห็นเพื่อนๆเราได้ทำกิจกรรมนู้นนี่นั่น หรือซื้อของแพงๆมาใช้ แน่นอนว่าเราย่อมมีความอยากอยู่หรืออยากได้อะไรแบบนั้นบ้าง แต่อยากให้เรายินดีกับสิ่งที่เรามีอยู่ อาจจะลองจดบันทึกสิ่งเล็กๆที่ทำให้เรามีความสุขและนึกถึงมันบ้าง และลองหากลุ่มคนหรือเพื่อนที่แบ่งปันประสบการณ์แบบเดียวกัน เพราะลึกๆแล้วคนทุกคนก็ย่อมมีความต้องการไม่เหมือนกัน คนที่ประสบความสำเร็จอาจจะเป็นคนที่เสพติดความสำเร็จไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามองกลัมาที่ตัวเองในชีวิตนี้เราอาจจะอยากมีแค่บ้านเล็กๆกับหมาซักสองสามตัว เราแค่มองเป้าหมายของเราและไปให้ถึงจุดนั้นก็พอแล้ว อย่ากดดันตัวเองโดยใช้สภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนด

 

เป็นยังไงกันบ้าง หวังว่าเมื่อเราอ่านบทความนี้แล้ว จะทำให้ทุกคนมองโลกในมุมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ไม่กดดันตัวเอง และมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่เป็นอยู่ สุดท้ายนี้อยากขอฝากเพจ Facebook : class-dd ให้ทุกคนได้ติดตาม เพื่อที่จะได้ไม่พลาดบทความเพื่อการศึกษาใหม่ๆที่เราจะมาอัพเดทให้อ่านกันทุกอาทิตย์ สำหรับอาทิตย์นี้ก็ขอขอบคุณมากครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ