คณะวิศวะกรรมศาสตร์คงเป็นหนึ่งในคณะที่หลายๆคนใฝ่ฝันกันใช่ไหมครับ วันนี้ Class-dd และผมในฐานะศิษย์เก่ารหัส59 จะมาแนะนำแนวทางการเข้าศึกษาต่อที่ คณะวิศวะ อินเตอร์ จุฬา หรือ ISE (International School of Engineering รวมถึงเล่าที่มา แต่ละสาขาเรียนอะไรบ้าง แล้วจบไปทำงานอะไรกันครับ
ก่อนจะเริ่มต้น เรามารู้จักกับคณะวิศวะจุฬา อินเตอร์กันก่อนนะครับ คณะนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 2005 โดยมีทั้งหมด 4 ภาควิชา ได้แก่ NANO, ADME, ICE และ AERO และในปัจจุบันนั้นได้เพิ่มสาขาวิชาที่ 5 ได้แก่ RAI (Robotics and AI) ขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางความต้องการของตลาดการทำงานในปัจจุบัน โดยแต่ละภาควิชานั้นจะมีการเรียนและเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป แต่ในปีหนึ่งนั้นทุกสาขาจะเรียนวิชาพื้นฐานวิศวกรรมคล้ายๆกันหมด เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละสาขานั้นเรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง
- NANO (Nano Engineering) วิศวกรรมนาโน จะเรียนเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี โดยวิชาที่จะเรียนส่วนใหญ่จะเน้นBio-Chem/Bio-Engineerเพื่อที่จะนำไปต่อยอดในการสร้างสรรค์หรือวิจัยสิ่งต่างๆ น้องเตรียมตัวไว้ได้เลยว่าจะต้องเจอวิชาเคมี / ชีวะ หนักกว่าภาคอื่นๆแน่นอน ในการเรียนจะได้ทดลองเข้าแล็บมากกว่าภาคอื่นๆ จบไปแล้วจะเน้นไปทำResearchต่อ หรือหลายๆคนก็ไปทำงานตามโรงงานฝ่ายวิจัยก็มีให้เห็นกันครับ
- ADME (Automotives Design and Manufacturing Engineering) ชื่อสาขาอาจจะเรียนเกี่ยวกับออกแบบและผลิตรถยนต์(Automotive) แต่เนื้อหาการเรียนส่วนใหญ่นั้นจะคล้ายกับวิศวะเครื่องกล เพราะฉะนั้น ได้เจอวิชาจำพวกเทอโมไดนามิกส์แน่นอน แต่เรียนวิชานี้ก็จะได้เข้าเวิร์คช้อปเกี่ยวกับเครื่องยนต์และส่วนประกอบต่างๆ การออกแบบสามมิติเป็นต้น จบไปแล้วจะสามารถไปทำงานตามโรงงานรถยนต์ชั้นนำ หรือจะย้ายมาสายBusinessก็มีครับ
- AERO (Aerospace Engineering) วิศวะกรรมอากาศยาน สาขานี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในอากาศยาน โดยจะได้เรียนเทอร์โมไดนามิกส์เหมือนกับ ADME และ ยังจะได้เรียนวิชาการออกแบบอากาศยานและได้ลงมือทำแล็บจริงๆด้วย สำหรับน้องๆที่อยากเป็นนักบิน สาขานี้น่าจะเหมาะกับเราเพราะเป็นพื้นฐานความรู้อากาศยานต่างๆ แต่ไม่ได้สอนสอบนักบินนะครับ จบไปส่วนใหญ่จะทำงานกับสนามบิน ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือ อาชีพจำพวกวิศวะเครื่องกลต่างๆ แต่ก็มีหลายส่วนที่ไปเรียนเพื่อสอบนักบินต่อ เพราะเรียนสาขานี้ก้ได้ปูพื้นฐานทำให้พร้อมสอบนักบินมากขึ้นนั่นเอง
- ICE (Information and Communication Engineering) วิศวะกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ชื่ออาจจะฟังดูงง แต่เรียนแล้วก็งง (ฮ่าฮ่า) จริงๆสาขานี้เรียกได้ว่าครอบคลุมเนื้อหาที่กว้างที่สุดเลย เพราะจะเรียนตั้งแต่การเขียนโค้ด/โปรแกรมเบื้องต้น (น้อยกว่าวิศวะคอม) ไฟฟ้า หรือเครื่อข่ายต่างๆทั้งโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ดาวเทียม เป็นต้น ทำให้จบสาขานี้มามีงานรองรับค่อนข้างกว้าง เพราะมีความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆเช่นแอปมือถือ ซอฟแวร์คอม ระบบเครือข่ายต่างๆ โดยส่วนใหญ่ที่จบมานั้น จะไปทำงานทั้งสาย Developer หรือที่อาชีพอื่นๆเกี่ยวข้องกับสายTech และยังสามารถโยกไปทาง Network engineering หรือ สายRobotics / Machine learning / Data Science ก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัจจุบันISEเลยได้เปิดสาขาวิชาต่อไปให้เด็กที่สนใจได้เรียนตรงสายมากขึ้นนั้นเอง
- RAI (Robotics and Artificial Engineering) วิศวะกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ สาขานี้เหมาะสำหรับคนที่สนใจด้านการเขียนโค้ด หรือ ทำงานกับข้อมูลต่างๆอย่างแท้จริง เพราะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวางระบบต่างๆมากมาย รวมถึงการทำงานของปัญญาประดิษฐ์และวิชาจำพวกคณิตศาสตร์ สายงานเมื่อจบไปกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันอย่างเช่น Machine Learning Engineer, Data Scientist, Robotics Engineer เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกๆสาขาวิชาก็จะสามารถย้ายสายไปประกอบอาชีพใน Tech industry ได้เกือบทั้งหมดเช่น Data analyst, Management, Project coordinator เป็นต้น เนื่องจากมีหลักสูตรการเรียนที่ครอบคลุมค่อนข้างกว้างนั่นเอง
หลักเกณฑ์การรับสมัคร
ต่อมาเรามาดูหลักเกณฑ์การรับสมัครของ ISE กันครับ คะแนนจะแบ่งเป็น Science 40%, Math 32.5%, English Proficiency 20%, GPAX (ไม่กำหนดขั้นต่ำ) 7.5%, Interview
1.) English Proficiency ภาษาอังกฤษ โดยเราสามารถเลือกสอบตัวไหนด็ได้ที่เราถนัดที่สุด และเลือกคะแนนที่ดีที่สุดแต่คะแนนนั้นต้องผ่านเกณฑ์ก่อนนะครับถึงจะมีสิทธ์ยื่น
- CU-TEP คะแนนเต็ม 120 ผ่านเกณฑ์ 80
- IELTS คะแนนเต็ม 9.0 ผ่านเกณฑ์ 6.0
- TOEFL (iBT) คะแนนเต็ม 120 ผ่านเกณฑ์ 80
2.) Math คณิตศาสตร์ เราสามารถเลือกสอบตัวไหนด็ได้ที่เราถนัดที่สุดเช่นกัน มีเงื่อนไขในการยื่นคะแนน ดังนี้
- SAT MATH และ SAT Subject test MATH Level II ต้องยื่นควบคู่กัน อย่าสอบผิดตัวไปสอบ Math level I นะครับ
- SAT MATH คะแนนเต็ม 800 ผ่านเกณฑ์ 620
- SAT Subject test MATH Level II คะแนนเต็ม 800 ผ่านเกณฑ์ 600
- CU-AAT จะพิจารณาแค่ Part MATH ซึ่งมีคะแนนเต็ม 800 ผ่านเกณฑ์ 480
3.) Science วิทยาศาสตร์ เลือกยื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่
- SAT Subject test Physics และ SAT Subject test Chemistry ต้องยื่นควบคู่กัน
- SAT Subject test Physics คะแนนเต็ม 800 ต้องผ่านเกณฑ์ 600
- SAT Subject test Chemistry คะแนนเต็ม 800 ต้องผ่านเกณฑ์ 600
- CU-ATS คะแนนเต็ม 1,600 ผ่านเกณฑ์ 800
4.) เกรด อันนี้ขึ้นอยู่กับผลการเรียนในระดับมัธยมของน้องๆโดยตรงเลยนะครับ
5.) Interview ในอดีตจะคิดคะแนนการสอบสัมภาษณ์ 5% แต่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกเหลือแค่ผ่านกับไม่ผ่าน โดยจะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เทคนิคคือให้พูดตอบอย่างมั่นใจ บอกถึงPassionในการมาเรียนวิศวะของเราว่าเราอยากจะทำอะไร แต่ส่วนใหญ่ทุกคนก็จะผ่านตรงนี้ไปได้หมด อย่างปีพี่มีคนไม่ผ่านเพราะตอบว่าอยากเป็นยีราฟ (ฮา) ขอให้พูดแบบคนมีความตั้งใจจะเข้าเรียนเป็นพอ
แต่ก่อนคะแนนผ่านเกณฑ์นั้นก้เรียกได้ว่ามีสิทธิยื่นและสอบติดได้ง่ายๆแล้ว แต่ในปัจจุบันการแข่งขันเข้าISEนั้นสูงขึ้นมากๆถึงขั้นแข่งกันยันเกรดเฉลี่ยเลยทีเดียว จึงอยากจะแนะนำว่าหากต้องการจะเข้าให้ติดจริง ควรจะทำพาร์ท Science และ Math ให้ได้มากกว่า >720-750 (SAT) และ พาร์ท English ให้ได้ มากกว่า >90-100 (CU-TEP) เพราะการแข่งขันนั้นค่อนข้างสูงเลยทีเดียว หากต้องการคำแนะนำหรือหาที่เรียนพิเศษติวการสอบ SAT, IELTS, CU ต่างๆ สามารถเข้ามาดูได้ที่นี่เลย สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนที่เข้ามานั้นสอบได้ดั่งที่ใจคิดไว้ แล้วเจอกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ