หมวดหมู่

โปรไฟล์

แนะนำแนวทางสอบเข้า CommDe ทำความรู้จักแบบเจาะลึกกับคณะสถาปัตย์ออกแบบสื่อสาร อินเตอร์จุฬา

อัพเดทล่าสุดเมื่อ 21/02/2021

“Commde” คือคณะอะไร? ย่อมาจากคำว่าอะไรกันนะ?

Commde (คอมดี) หรือ Communication Design Department of Industrial Design,
Faculty of Architecture, Chulalongkorn University เป็นหลักสูตรปริญญาตรีศิลปกรรมศาสตร์นานาชาติ (BFA) ในสาขาการออกแบบการสื่อสาร Commdeเป็นหลักสูตรนานาชาติที่มุ่งเน้นการสอนทางด้านความคิด สร้างสรรค์โดยไม่มีข้อจำกัดของมีเดียที่ใช้ ด้วยหลักสูตรการสอนที่เปิดกว้าง ทำให้นิสิต/นักศึกษาสามารถมุ่ง เน้นไปทางด้านที่ตนเองสนใจได้อย่างเต็มที่ หรือสำหรับน้องๆที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองชอบหรือถนัดอะไรเป็น พิเศษ ก็เป็นโอกาสที่ดีในการทดลองหลายสิ่งในระหว่างปีการศึกษา โดยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในแต่ละแขนง รวมถึงมีสื่อการสอน สถานที่ และอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะค่ะ

 

เด็ก Commde เรียนอะไรบ้าง

เนื่องจากหลักสูตรที่เปิดกว้าง น้องๆหรือผู้ที่ตัดสินใจศึกษาต่อคณะนี้ จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Processes) การทำวิจัย (Research Experiments) เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบ หรือแม้แต่ การฝึกฝนและพัฒนาสกิล (Practical Skill) อาทิเช่นการใช้สีริโซ่กราฟ (Risograph), การทำงานไม้ (Wood Shop) และอีกมากมาย นอกเหนือจากการพัฒนาทักษะของการทำมือ (Handcrafting) ผู้ศึกษาและปฎิบัติก็จะ ยังได้รับการฝึกฝนทางด้านทักษะทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน โดยวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องจะรวมถึงการออกแบบก ราฟฟิค (Graphic-Design), การออกแบบโมชั่น (Motion-Graphic), การตัดต่อและทำเสียง (Editing and Sound-Design), การขึ้นโมเดลอนิเมชั่นสามมิติ (3D Animation) หรือแม้แต่ ศิลปะการติดตั้ง (Installation Art) และอีกมากมาย

 

เรียน Commde จบแล้วไปทำอะไร?

ด้วยการเรียนการสอนที่อธิบายไปข้างต้นว่าหลักสูตรค่อนข้างเปิดกว้างมากๆ และมีความหลากหลายภายใต้ข้อ จำกัดของคำว่าการออกแบบสื่อสาร จึงทำให้ผู้ที่จบการศึกษาจากคอมดีจะไม่ใช่แค่ได้รับวิชาชีพที่เฉพาะเจาะจง แต่จะมีทักษะที่หลากหลาย และมีประสบการณ์ในการทดลองมีเดียหลายอย่าง รวมไปถึงความรู้เฉพาะทางที่ ตนเองสนใจและถนัด ที่จะหยิบใช้มาทำเป็นสื่อหลักในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะช่วยปูทางไปสู่การประยุกต์ใช้ ในอาชีพ อีกทั้งสามารถช่วยเราในการต่อยอดทั้งในด้านการเรียนต่อโทไปในสาขาวิชาเฉพาะทางที่สนใจ ดัง นั้นเด็กคอมดีแต่ละคนก็จะค่อนข้างเดินทางในเส้นทางที่หลากหลาย เช่น กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ (Graphic Designer), ผู้กำกับศิลป์ (Art-Director) , ไลท์ติ้งดีไซน์เนอร์ (Lighting Designer) หรือการทำงานในองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ศิลปะการติดตั้ง (Installation Art) ในนิทรรศการหรืออีเว้นต์ (Event) ต่างๆ

อาชีพอื่นๆ เพิ่มเติม

  • Designer / Coder
  • Art Director
  • UX/UI Designer
  • Photographer
  • Website Designer
  • Design Consultant
  • Visual Merchandiser

 

อยากเข้าคอมดีต้องทำอย่างไร? ต้องเตรียมตัวแค่ไหนถึงจะพิชิตข้อสอบคอมดีได้?

อันดับแรกน้องๆหรือผู้ที่สนใจจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คอมดีไม่ใช่คณะที่ต้องการคนวาดรูปสวยหรือ ทำงานฝีมือได้ยอดเยี่ยม แต่สิ่งที่คณะนี้ต้องการคือคนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ และมองว่าการคิดนอกกรอบ เป็นเรื่องสนุก พร้อมที่จะเรียนรู้ เพราะฉะนั้นต้องถามตัวเองก่อนเลยว่าชอบที่จะไม่จมอยู่กับการทำงานออกมาให้ สวยแต่ไม่มีความหมายไหม หรือชอบที่จะคิดและลองทำอะไรใหม่ๆ ที่อาจจะไม่เคยมีใครทำมาก่อน และหาก น้องๆสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับหลักสูตรที่จัดมาให้ แสดงว่ามาถูกทางแล้ว ! สิ่งที่สำคัญมากๆอีก อย่างเลยคือ จากไอเดียสร้างสรรค์นั้นต้องลองทำออกมาให้ได้ด้วย ว่าจากไอเดีย มันสามารถทำให้ออกมาเป็น

ชิ้นงานได้จริงๆนะ เพราะในเวลา 4 ปีที่อยู่ในนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยคือเราต้องสามารถที่จะนำส่งไอเดียมากมายที่ มีออกมาให้ได้ดีที่สุด โดยที่มันจะต้องสื่อสารด้วยตัวของมันเอง เหมือนตามชื่อคณะที่ว่า Commde ซึ่งย่อมา จาก Communication Design หรือออกแบบสื่อสารนั่นเอง

 

เกณฑ์การสอบเข้า Commde

เกณฑ์การสอบนั้นจะมีผลในการพิจารณาตอนยืนรับสมัครเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นน้องๆก็เลือกสอบตัวที่ถนัดให้ผ่านเกณฑ์ก็เพียงพอแล้ว จากนั้นก็เอาเวลาไปเตรียมตัวสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์ดีกว่า โดยจะต้องสอบผ่านเกณฑ์วิชาดังต่อไปนี้

คะแนนสอบการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ

  • TOFEL (Paper-base) ≥550 คะแนน หรือ
  • TOFEL (Computer-base) ≥79คะแนน หรือ – IELTS ≥ 6.0 คะแนน หรือ
  • Old SAT ≥ 400 คะแนน หรือ New SAT ≥ 450 คะแนน หรือ
  • CU-AAT ≥ 400 คะแนน หรือ
  • CU-TEP ≥ 80 คะแนน

คะแนนความถนัดทางคณิตศาสตร์

  • CU-AAT (Math) ≥ 450 คะแนน หรือ
  • Old SAT (Math) ≥ 450 คะแนน หรือ
  • New SAT(Math) ≥ 490 คะแนน

ซึ่งคะแนนเหล่านี้จะไม่มีส่วนในการตัดสินใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากน้องๆจะต้องไปสอบสัมภาษณ์และสอบเขียนตาม ระเบียบที่คณะกำหนด ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะคะแนนจะน้อยไป หรือไม่เพียงพอนะคะ แค่น้องๆได้คะแนนที่ผ่าน เกณฑ์พอให้สมัครได้ก็โอเคแล้ว

 

เทคนิคเวลาสอบเขียน / สอบสัมภาษณ์

หลังจากคะแนนผ่านแล้ว น้องๆก็จะต้องสอบเขียนและสอบสัมภาษณ์ ซึ่งข้อเขียนไม่มีอะไรซีเรียสขนาดนั้นค่ะ เหมือนอาจารย์อยากจะดูความคิดและไอเดียของน้องๆมากกว่า ซึ่งถ้ายกตัวอย่างก็คือตอนปีเรามันให้วาดรูป ตามโจทย์ แต่ไม่ได้เน้นที่ความสวยงามนะ เช่นว่าโจทย์อาจจะเป็น “Create a Poster when robot take over the world” อะไรแบบนี้ ซึ่งจากโจทย์ก็ดูรู้เลยว่าเค้าอยากเห็นความคิดสร้างสรรค์มากกว่า เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ ที่จะใช้อะไรก็เอาไปเท่าที่จำเป็น ไม่ต้องขนถาดสีหรือถังน้ำไปน้า
ส่วนสอบสัมภาษณ์อาจจะฟังดูเป็นอะไรที่หิน และน่ากังวลที่สุดแล้วสำหรับคอมดี เพราะส่วนใหญ่คะแนนก็จะเท ไปอยู่ที่จุดนี้ด้วย แต่ไม่อยากให้ซ้อมจนทุกอย่างดูเป็นสคริปต์น้า ตอนคุยกับอาจาร์ย การพูดคุยควรเป็น ธรรมชาติ เป็นตัวเอง ส่วนเนื้อหาการคุยนั่น จากประสบการ์ณของตัวเองและถามเพื่อนๆก็จะได้พูดคุยในเรื่องที่ ไม่เหมือนกัน บางคนก็ให้อธิบายงานใน Portfolioที่ส่งไป บางคนก็ให้เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง ประสบการ์ณที่ เคยเจอ อะไรประมาณนี้ ซึ่งเรารู้สึกว่า ในพาร์ทของการสอบสัมภาษณ์คือเหมือนอาจารย์เค้าอยากรู้จักเรา ก่อน ที่จะตัดสินใจรับเข้าคณะมากกว่า สิ่งที่เค้ามองหาอาจจะไม่ใช่คนที่ โอ้โหเก่งสุดๆ วาดรูปสวยมาก แต่บางทีสิ่งที่ เค้ามองหาอาจจะเป็นคนที่มีคาแรกเตอร์น่าสนใจ กล้าพูด กล้าถามคำถาม ดูอยากเรียนรู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ จริงๆ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆเนื่องจากเป็นคณะนานาชาติ การสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องสำคัญอันดับ แรกๆเลย แต่ไม่ได้หมานถึงว่าเราต้องสำเนียงดี เป๊ะ เริ่ดเหมือนจบนอกมานะ แต่เราต้องสามารถอธิบายให้เค้า เข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้ แค่นั้นก็เพียงพอแล้วค่ะ

ทิ้งท้ายก็คืออยากให้ตั้งใจทำ Portfolio กันนะคะเพราะ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆเช่นกันในการตัดสิน เพราะมันจะเป็นตัวบ่งบอกตัวตนและความตั้งใจว่าเราสนใจ และอยากที่จะเข้ามาอยู่ในคณะนี้จริงๆค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีน้า

เขียนโดย: Tanita Nithiworana CU100 STU84 Commde 8

เรียบเรียง: Admin