เคยไหมครับเวลาที่จะทำอะไรซักอย่างแต่ไม่มีความมั่นใจที่จะทำ แล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ความกลัวที่จะล้มเหลวด้วย แต่ลึกๆแล้วเราชอบรู้สึกว่าเรามีความสามารถไม่พอที่จะทำเรื่องนั้นได้ และกลัวว่าคนอื่นจะจับได้ว่าเราไม่มีความสามารถพอ ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว เราอาจจะทำได้ง่ายๆเลยด้วยซ้ำ ความคิดที่ได้กล่าวมานั้นเรียกได้ว่าเป็นอาการ Imposter syndrome นั่นเอง กอาการ Imposter syndrome อาจจะไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่หากเรารู้ว่าจะจัดการกับความคิดและอาการเหล่านั้น มันอาจจะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด วันนี้ Class-dd จะพาไปทำความเข้าใจกันครับ
Imposter syndrome คืออะไร
Imposter syndrome เป็นแนวการคิดที่เวลาเราลงมือทำอะไรซักอย่าง เราจะไม่กล้าที่จะทำเพราะกลัวว่าเราจะไม่มีความสามารถพอ หรือถึงแม้ว่าจะทำสำเร็จแล้ว เราก็จะคิดว่าเราทำได้เพราะโชคช่วย ไม่ใช่เพราะความสามารถของตัวเองเลย
Imposter syndrome นั้นมีสาเหตุได้จากหลายๆทาง จาการวิจัยพบว่าอาจจะเกิดจากความเครียดสะสม การทำงานของสมอง หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น เด็กที่ทำเกรดไม่ได้ตามที่พ่อแม่คาดหวังไว้ จะเหมือนเป็นการสร้างบาดแผลให้เด็กรู้สึกไม่ดีพอนั่นเอง
โดยอาการ Imposter syndrome จะเกิดขึ้นง่ายกว่าสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้
- Perfectionist หรือคนที่ตั้งมาตรฐานของงานทุกอย่างไว้สูงมาก ถึงแม้ว่าจะทำได้ 99% ของที่ตั้งใจไว้ คนเหล่านั้นก็จะถือว่ายังไม่ดีพอ
- Experts หรือคนที่ต้องการรู้ทุกเรื่องแบบลงลึกก่อนที่จะลงมือทำอะไรซักอย่าง เช่น คนที่ไม่ลองสมัครมหาวิทยาลัยดีๆทั้งที่ตัวเองก็มีความรู้พอประมาณ แต่เพราะเป็นความที่คิดว่าตัวเองยังรู้ไม่พอ ทำให้เสียโอกาสนั้นๆไป
- Soloist หรือพวกฉายเดี่ยว หากคนประเภทนี้มีคนมาช่วยทำงานหรือต้องใช้ความช่วยเหลือจากคนอื่น เขาจะรู้สึกล้มเหลวทันที
- Superman / Superwomen หรือคนที่ผลักตัวเองให้ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในทุกๆด้าน พวกเขาจะรู้สึกกดดันอย่างมากหากทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งไม่สำเร็จ
ตัวอย่างของ Imposter syndrome
- คนอื่นก็เป็น Impostor Syndrome เหมือนกัน
- ความสำเร็จไม่ได้ทำให้ Impostor Syndrome หายไป ถ้าจะว่าไปมันอาจจะยิ่งทำให้มี Impostor syndrome มากขึ้นด้วยซ้ำ ยิ่งสำเร็จอาจยิ่งเป็น Impostor Syndrome มากขึ้น
วิธีรับมือกับ Imposter syndrome
- เรียนรู้และกลั่นกรอง – แค่ได้อ่านบทความนี้ เราก้เหมือนเข้าใจ Imposter syndrome ไปแล้ว ค่อยๆกลั่นกรองความคิดให้เราคิดถึงอาการของ Imposter syndrome ไว้ และอย่าให้มันมามีผลกับชีวิตเรามากจนเกินไป
- ตื่นตระหนกได้แต่อย่าเพิ่งรีบตัดสิน – เมื่อมีอะไรเข้ามา เป็นทำธรรมดาที่เราจะตื่นตระหนกหรือมีความคิดที่ว่า เอ๊ะ เราทำไม่ได้หรอก ให้ค่อยๆคิดหาทางออกหรือวิธีที่จะทำ ถึงแม้ว่าเราคิดว่าผลลัพธ์อาจจะออกมาไม่ดี แต่ขอให้ลองทำไปก่อน หากตื่นตระหนกให้กลับไปคิดถึงข้อ 1 แล้วอย่าให้อาการของ Imposter syndrome มาครอบงำตัวเรา
- หาทางออก – สุดท้ายแล้ว Imposter syndrome นั้นอาจจะไม่ได้หายไปไหน แต่หากเรารู็จักวิธีจัดการกับมันแล้ว มันจะไม่กลายเป็นอาการที่น่ากลัวอย่างที่คิด
สุดท้ายนี้ทาง Class-dd ก็อยากจะเอาใจช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในทั้งการเรียนและการทำงาน ก้าวข้ามและรับมืออาการ Imposter syndrome ไปให้ได้ และฝากติดตามเพจ Facebook : class-dd เพื่อที่จะไม่พลาดบทความใหม่ๆเกี่ยวกับการศึกษา ที่เราจะมีมาให้อ่านกันทุกๆสัปดาห์ สำหรับวันนี้ลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่ครับ